นาฬิกาขีวิต(Biological clock)

เรื่อง “ นาฬิกาชีวิต “  นี้เป็นการรวบรวมคำบรรยายของ อาจารย์ สุทธิวัสส์ คำภา บางส่วนทางวิทยุและสถานที่ต่างๆ จากหนังสือที่ได้พิมพ์เผยแพร่เป็นวิทยาทานโดยเฉพาะการบรรยายทุกวันอาทิตย์ต้นเดือนที่บ้านสวนไผ่สุขภาพ ศูนย์รวมสุขภาพครบวงจรอาหารมังสวิรัติ อาจารย์สุทธิวัสส์ คำภา ท่านเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการใช้ลูกดิ่งสำหรับประเมินสภาวะสุขภาพ เป็นนักธรรมชาติบำบัดที่มีพื้นฐานจากครอบครัวแพทย์แผนไทย ประกอบกับมีประสบการณ์ในการสืบค้นภูมิปัญญาไทยตามแนวธรรมชาติบำบัดยาวนานกว่า 30 ปีทั่วประเทศ ได้ค้นคว้าการแพทย์ในพระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนา ท่านได้ศึกษา Pendulum จากแพทย์ประจำตัวประธานาธิบดีเวเนซุเอลา และได้พัฒนาประสานกับภูมิรู้ภูมิธรรมที่กว้างขวางลึกซึ้งของท่าน นำ Pendulum มาประเมินภาวะสุขภาพโดยวิธีธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  จึงนับเป็นการแก้ปัญหาทั้งระบบของการประเมินสภาวะสุขภาพโดยวิธีธรรมชาติของการแพทย์แบบองค์รวม  นาฬิกาชีวิต ( BIOLOGICAL CLOCK )          ช่วงเวลา                              ระบบที่เกี่ยวข้อง                                              ข้อควรปฏิบัติ  01.00 – 03.00 น.                                   ตับ                                                  นอนหลับพักผ่อนให้หลับสนิท 03.00 – 05.00 น.                                   ปอด                                                ตื่นนอน  สูดอากาศบริสุทธิ์ 05.00 – 07.00 น.                                   ลำไส้ใหญ่                                       ขับถ่ายอุจจาระ 07.00 – 09.00 น.                                   กระเพาะอาหาร                                กินอาหารเช้า 09.00 – 11.00 น.                                   ม้าม                                                พูดน้อย,กินน้อย,ไม่นอนหลับ 11.00 – 13.00 น.                                   หัวใจ                                               หลีกเลี่ยงความเครียดทั้งปวง 13.00 – 15.00 น.                                   ลำไส้เล็ก                                        งดกินอาหารทุกประเภท 15.00 – 17.00 น.                                   กระเพาะปัสสาวะ                             ทำให้เหงื่อออก ( ออกกำลังกายหรืออบตัว) 17.00 – 19.00 น.                                   ไต                                                  ทำให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหาวนอน 19.00 – 21.00 น.                                   เยื่อหุ้มหัวใจ                                     ทำสมาธิ หรือสวดมนต์ 21.00 – 23.00 น.                                   ระบบความร้อนของร่างกาย                ห้ามอาบน้ำเย็น,ห้ามตากลมทำให้ร่างกายอบอุ่น 23.00 – 01.00 น.                                   ถุงน้ำดี                                             ดื่มน้ำก่อนเข้านอน   การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก  โดยมองลึกลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมงในหนึ่งวันนั้น  ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่านอวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบไปด้วยอวัยวะตันและอวัยวะกลวง อวัยวะตัน               หมายถึง  หัวใจ  เยื่อหุ้มหัวใจ  ปอด  ม้าม  ตับ  ไต อวัยวะกลวง          หมายถึง  กระเพาะอาหาร  ถุงน้ำดี  ลำไส้ใหญ่  ลำไส้เล็ก  กระเพาะปัสสาวะ  ระบบความ ร้อนของร่างกาย ( ซานเจียว ) การไหลเวียนของพลังชีวิต ( ลมปราณ ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวันเรียกว่า “ นาฬิกาชีวิต “ ตัวอย่าง เช่น การไหลเวียนของเส้นลมปราณปอดจะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น. และสูงสุดในช่วงประมาณ 04.00 น. จากนั้นจะค่อยๆลดลง  และออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลำไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น. การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดจึงควรอยู่ระหว่างเวลา   03.00 – 05.00 น. ได้มีการศึกษาวิจัย พบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตกคือ  ยา ดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว ( มีการคั่งของน้ำในปอด ) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น. จะให้ผล ออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่าของการให้ยาเวลาอื่น  เป็นต้น   การเคลื่อนไหวของพลังชีวิตของอวัยวะภายในมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา ( นาฬิกาชีวิต ) ร่างการเราจึงมีกลไกการปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน  การทำงานของระบบต่างๆ ฯลฯ  เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป การดำเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็นหลักฐานของการมีสุขภาพที่ดีและมีอายุยืน ปราศจากโรคโดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้ 01.00 – 03.00 น.  เป็นช่วงเวลาของตับ   ควรนอนหลับพักผ่อน ถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงนี้ ตับจะหลังสาร มีราโทนิน (Meratonine) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่ง มีราโทนิน เป็นประจำแล้ว ยังหลั่งสาร เอนโดรฟิน (Endrophin) ออกมาด้วยจึงไม่ควรกินอาหารเพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รองคือ  1.ช่วยไตในการดูแลผม ขน  เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บ จะไม่สวย 2.ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อยๆ จะทำให้ตับทำงานหนัก ตับจะหลั่งน้ำย่อยออกมามากจึงไม่ได้ทำหน้าที่หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ 03.00 – 05.00 น.   เป็นช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูด อากาศบริสุทธิ์และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนในช่วงนี้เป็นประจำ ปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว 05.00 – 07.00 น.  เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่  ควรขับถ่ายอุจจาระให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธีกดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่น 2 แก้ว ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาวโดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ + น้ำมะนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่ายหรือบริหารโดยการยืนตรง หายใจเข้าแล้วก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือเท้าเข่า แขม่วท้องจนเหมือนว่าหน้าท้องจะไปติดสันหลัง 07.00 – 09.00 น.  เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร  กระเพาะอาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารเช้าช่วงเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขี้กังวล ขาไม่ค่อยมีแรง ปวดเข่า หน้าแก่เร็วกว่าวัย 09.00 – 11.00 น.  เป็นช่วงเวลาของม้าม  ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง และควบคุมไขมัน คนที่ปวด ศีรษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม กับ ตับ – ม้ามโต  ม้ามจะไปเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย – ม้ามชื้น  อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้ง่วงง่าย ผู้ที่มักนอนหลับในช่วง 09.00 – 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อยๆหรือพูดเก่งๆม้ามจะชื้นจึงควรพูดน้อยกินน้อย ม้ามจึงแข็งแรง 11.00 – 13.00 น.  เป็นช่วงเวลาของหัวใจ  หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนักและหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรือการตกใจให้ได้ 13.00 – 15.00 น.  เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก  จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภทเพื่อเปิดโอกาสให้ลำไส้ทำงาน ลำไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมอาหารที่เป็นน้ำทุกชนิด เช่น วิตามินซี บี โปรตีนเพื่อสร้างกรดอะมิโนสร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สำหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนมีน้อยไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลำไส้ยาวกว่าผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้การดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เมื่อมีลำไส้ยาวกว่าจึงมีกระดูกซี่โครงมากกว่าผู้ชาย 1 ซี่ 15.00 – 17.00 น.  เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ  แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจาก หัวตา àผ่านหน้าผาก à ศีรษะ à ท้ายทอย à แผ่นหลังทั้งแผ่น à  สะโพก à ด้านหลังขา à  หัวเข่า à น่องส้นเท้า à  นิ้วก้อย  กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับระบบความจำ ไทรอยด์ และระบบเพศทั้งหมด  ช่วงเวลานี้จึงควรทำให้เหงื่อออกอาจจะออกกำลังกายหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง ข้อควรระวัง  ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามากไตจะวาย แต่ถ้ามีโพแทสเซียมปนออกมามากหัวใจจะวาย แก้ไข เรื่องหัวใจวายด้วยการให้ดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเพื่อเติมโพแทสเซียม(ผู้ที่มีโพแทสเซียมน้อยต้องระวังเรื่องการฉีดยาชาเพราะยาชาจะทำให้โพแทสเซียมลดลงอย่างรวดเร็ว หัวใจอาจวายได้ง่าย) การอั้นปัสสาวะบ่อยๆ ปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดทำให้เหงื่อออกมามีกลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ 17.00 – 19.00 น.  เป็นช่วงเวลาของไต  จึงควรทำใจให้สดชื่นไม่ง่วงเหงาหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนในช่วงเวลานี้แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนหลับแล้วเพ้อแสดงว่าอาการหนักมาก – ไตซ้าย จะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์สุนทรี รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหาอารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัวและเป็นคนขี้ร้อน – ไตขวา จะคุมสมองด้านซ้าย ซึ่งควบคุมด้านความจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อมและเป็นคนขี้หนาว    ( ผู้ที่มีไตแข็งแรงจะเป็นคนที่มีอายุยืน เป็นคนกล้า ) ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กไม่ได้จึงตกเป็นภาระของไตเป็นผลให้ไตทำงานหนักจึงกลายเป็นโรคไต ผู้ที่เป็นโรคไตสมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การดูแล  ตอนเช้าอาบน้ำเย็น ตอนเย็นให้อาบน้ำอุ่น กรณีที่อาบน้ำไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้า แต่น้ำควรใส่สมุนไพรที่ถูกกับโฉลกของผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง 19.00 – 21.00 น.  เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ  ช่วงเวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจคือ หัวใจโต หัวใจรั่ว  เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ  กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าสีดำ เทา เอาเท้าแช่น้ำอุ่น 21.00 – 23.00 น.  เป็นช่วงเวลาที่ต้องทำให้ร่างกายอบอุ่น จึงห้ามอาบน้ำเย็นช่วงเวลานี้ เพราะจะทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย อย่าไปตากลมเพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ 23.00 – 01.00 น.  เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี  ( ถุงน้ำดีเป็นถุงสำรองเก็บน้ำย่อยที่ออกมาจากตับ ) อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำจะมาดึงน้ำจากถุงน้ำดีทำให้ถุงน้ำดีข้นเป็นผลให้ อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกจะบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม ( ถุงน้ำดีจะโยงไปถึงปอด ) จะปวดศีรษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุ ( ผู้ที่ตัดถุงน้ำดีออก เมื่อตรวจด้วยลูกดิ่งจะพบว่าถุงน้ำดีข้น มักมีอาการปวดขา ปวดสะโพก ) ทางแก้คือ อย่าใส่ชุดนอนที่เป็นผ้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอนที่เป็นใยสังเคราะห์จะไปดูดน้ำในร่างกาย ควรสวมชุดผ้าฝ้ายดีที่สุดไม่ควรนอนบนที่นอนสูงๆ เพราะจะทำให้เสียน้ำในร่างกาย ดังนั้นควรดื่มน้ำก่อนเข้านอนหรือก่อนเวลา  23.00 น.